Categories
ประกันภัยรถยนต์

พ.ร.บ รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ฉบับง่าย ๆ

สวัสดีเพื่อนๆคนรักรถ วันนี้เรามีความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเรื่องประกันภัยรถยนต์มาฝากกันอีกแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของ พ.ร.บ รถยนต์ ซึ่งทุกคนรู้จักดีเพราะคนมีรถทุกคนต้องทำ แต่ทุกคนคิดว่ามันคือการทำตามกฎหมายไม่มีคือโดนจับ แต่หลายๆคนก็ไม่รู้ว่า พ.ร.บ รถยนต์ จริงๆแล้วมีขึ้นเพืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร วันนี้เราจะเล่าให้ฟัง

สวัสดีเพื่อนๆคนรักรถ วันนี้เรามีความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเรื่องประกันภัยรถยนต์ มาฝากกันอีกแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของ พ.ร.บ รถยนต์ ซึ่งทุกคนรู้จักดีเพราะคนมีรถทุกคนต้องทำ แต่ทุกคนคิดว่ามันคือการทำตามกฎหมายไม่มีคือโดนจับ แต่หลายๆคนก็ไม่รู้ว่า พ.ร.บ รถยนต์ จริงๆแล้วมีขึ้นเพืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร วันนี้เราจะเล่าให้ฟัง


พ.ร.บ รถยนต์ หรือชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นการ ประกันรถยนต์ ภาคบังคับ โดยเริ่มใช้เมื่อปี 2535 ซึ่งบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนต้องมีและจะต้องต่อทุกๆปีจนกว่ารถคันนั้นจะถูกแจ้งยกเลิกการใช้งาน หรือ ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว เมื่อรู้ที่มาของ พ.ร.บ รถยนต์ แล้วเราก็มาดูกันว่าจุดประสงค์ของความคุ้มครองนั้นคุ้มครองอะไรบ้าง
พ.ร.บ รถยนต์ นั้นให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้นคือ คุ้มครองเฉพาะคน ไม่เกี่ยวกับรถ ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณีนอกรถไม่ว่าจะอยู่ในรถคันอื่นหรือเดินอยู่บนถนน และให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในวงเงินไม่เกิน 50,000 / คน

แต่หากพิการหรือเสียชีวิตจะได้ค่าคุ้มครอง ไม่เกิน 100,000 บาท/คน แต่การเบิกจ่ายจะมีข้อกำหนดดังนี้คือ
การเบิกค่าชดเชยรักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ รถยนต์นั้น จะมีข้อกำหนดไว้ว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่เกิน 15,000 บาท แต่หลังจากมีการสืบสวนตามกฎหมายและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไม่มีความผิดก็จะได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามจริงแต่ไม่เกินวงเงินคุ้มครองและต้องมีเอกสารหลักฐานต่างๆให้ครบถ้วนซึ่งแต่โดยปรกติหากเข้ารักษาในโรงพยาบาล

ทางโรงพยาบาลสามารถยืนเรื่องเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลได้โดยตรง แต่หากรักษาตามคลีนิกก็ต้องนำยืนเรื่องเองและต้องมีเอกสารประกอบด้วยดังนี้คือ
สำเนาบัตรประชาชนผู้บาดเจ็บ
สำเนาทะเบียนบ้านผู้บาดเจ็บ
สำเนาพ.ร.บ. (หรือ ตัวจริง แต่ หากเราเป็นคนเดินถนนที่ประสบเหตุก็ต้องขอจากคู่กรณีหรือขอจดทะเบียนรถไว้เพื่อยืนยันว่าประสบเหตุจากรถคันดังกล่าวและไปขอค้นจากขนส่งหรือบริษัทประกัน )
บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เราไปแจ้งความใบเสร็จรับเงินที่สำรองจ่ายไปทั้งหมด สำเนารถ (คู่กรณีหากเราเป็นคนเดินถนน)
เอกสารบ้างอย่างควรขอจากคู่กรณีในวันเกิดเหตุทันทีหลังจากที่ไปแจ้งความที่โรงพักเพื่อความสะดวกในการทำเรื่องเบิกเงินชดเชย ซึ่งจะยื่นขอเงินชดเชยได้ในไม่เกินระยะเวลาภายใน 180 วันหลังจากประสบเหตุ
แต่หากเป็นกรณีเสียชีวิตหรือพิการ ทางญาติก็สามารถเบิกเงินชดเชยได้เช่นกันในเบื้องต้นเบิกได้ไม่เกิน 35,000 บาท และรอสอบสวนหากผู้เสียชีวิตไม่มีความผิดก็จะได้รับเงินชดเชย100,000 บาท ซึ่งการขอรับเงินชดเชยนั้นต้องมีเอกสารดังนี้ สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน โดยผู้ขอยื่นรับเงินชดเชยต้องเป็นทายาทของผู้เสียชีวิตหรือพ่อแม่พี่น้องนามสกุลเดียวกัน ใบมรณะบัตรผู้ประสบเหตุ นอกนั้นใช้เหมือนกรณีได้รับบาดเจ็บ
ที่นี้คงจะทราบกันแล้วว่า พ.ร.บ รถยนต์ นั้น ให้ความคุ้มครองอะไรบ้างและให้กับใคร และหากจะให้ดีควรทำร่วมกับประกันภัยรถยนต์ ด้วย คือซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมเพราะบางคนทำแต่ พ.ร.บ รถยนต์นั้น ไม่ยอมเสียเงินทำประกันซึ่งบอกเลยว่าเกิดเหตุมาจ่ายมากกว่าค่าเบี้ยประกันอีกนะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *